Send Email

hrdeesolution@gmail.com

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเกิดการบาดเจ็บขณะเดินทางท่องเที่ยว Part 2

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นในบาดแผลแบบต่างๆ

2.การปฐมพยาบาลบาดแผลฟกช้ำ(Contusion)

บาดแผลฟกช้ำหรือบาดแผลเปิด เป็นบาดแผลที่ไม่มีร่องรอยของผิวหนัง แต่มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อและหลอดเลือดบริเวณที่อยู่ใต้ผิวหนังส่วนนั้น มักเกิดจากแรงกระแทกของแข็งที่ไม่มีคม เช่น ถูกชน หกล้ม เป็นต้น ทำให้เห็นเป็นรอยฟกช้ำ  บวมแดงหรือเขียว

อุปกรณ์

  1. น้ำเย็น
  2. ผ้าขนหนูผืนเล็ก
  3. ผ้าพันแผชนิดเป็นม้วน

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

  1. ให้ประคบบริเวณนั้นด้วยความเย็น เพราะความเย็นจะช่วยให้เลือดใต้ผิวหนังบริเวณนั้นออกน้อยลง โดยใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบหรือใช้ผ้า ห่อน้ำแข็งประคบเบาๆ ก็ได้
  2. ถ้าบาดแผลฟกช้ำเกิดขึ้นกับอวัยวะที่ต้องมีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า ข้อศอก เป็นต้น ให้ใช้ผ้าพันแผลชนิดเป็นม้วนที่ยืดหยุ่น พันรอบข้อเหล่านั้นให้แน่นพอสมควร เพื่อช่วยให้อวัยวะที่มีบาดแผลอยู่นิ่งๆ และพยายามอย่าเคลื่อนไหวผ่านบริเวณนั้นๆ รอยช้ำค่อยๆ จางหายไปเอง

3.การปฐมพยาบาลบาดแผลถูกของมีคมบาด  (Incision wounds)

บาดแผลแยกหรือบาดแผลเปิด เป็นบาดแผลที่เกิดจากการฉีกขาดของผิวหนังหรือเนื้อเยื่อจากการถูกของมีคมบาด แทง กรีด หรือถูกวัตถุกระแทกแรงจนเกิดบาดแผล มองเห็นมีเลือดไหลออกมา

อุปกรณ์ เช่นเดียวกับการปฐมพยาบาลแผลถลอก

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

  1. ใช้สำลีเช็ดเลือด และกดห้ามเลือด
  2. ใช้แอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาดรอบๆ แผล
  3. ใช้สำลีชุบเบตาดีน หรือ โปรวิดี ไอโอดีนใส่แผลสดทารอบๆ แผล
  4. ใช้ผ้าพันแผล หรือพลาสเตอร์ปิดแผล
  5. รีบน้ำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลให้กรณีบาดแผลรุนแรง

4. การปฐมพยาบาลบาดแผลกระดูกหัก (Fracture)

กระดูกหัก คือ การที่กระดูกแยกออกจากกัน ก่อให้เกิดความเจ็บปวด บวม เคลื่อนไหวไม่ได้หรือเคลื่อนไหวผิดปกติ เนื่องจากอุบัติเหตุ เช่น ถูกรถชน หกล้ม ตกจากที่สูง หรือกระดูกเป็นโรคไม่แข็งแรงอยู่แล้ว กระดูกเปราะเมื่อถูกแรงกระทบกระเทือนเพียงเล็กน้อยก็อาจหักได้

อุปกรณ์

  1. แผ่นไม้หรือหนังสือหนาๆ
  2. ผ้าพันยืด

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

  1. วางอวัยวะส่วนนั้นบนแผ่นไม้หรือหนังสือหนา ๆ
  2. ใช้ผ้าพันยึดไม้ให้เคลื่อนไหว
  3. ถ้าเป็นปลายแขนหรือมือใช้ผ้าคล้องคอ

5. การปฐมพยาบาลเมื่อถูกแมลงกัดต่อย (Insect bite)

แมลงหลายชนิดมีเหล็กใน เช่น ผึ้ง ต่อ แตน เป็นต้น เมื่อต่อยแล้วมักจะทิ้งเหล็กในไว้ ภายในเหล็กในจะมีพิษของแมลงพวกนี้มักมีฤทธิ์ที่เป็นกรด บริเวณที่ถูกต่อยจะบวมแดง คันและปวด อาการปวดจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับบริเวณที่ต่อยและสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล

อุปกรณ์

  1. อุปกรณ์ที่มีรูสามารถกดลงเพื่อเอาเหล็กในออกเช่น ลูกกุญแจ
  2. อุปกรณ์สะอาดสำหรับคีบเอาเหล็กในออก
  3. สำลีชุบแอมโมเนีย

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

  1. ใช้ลูกกุญแจที่มีรูกดตรงจุดที่ถูกต่อย แล้วใช้ที่หนีบคีบเอาเหล็กในออก
  2. กดหรือบีบบาดแผลไล่น้ำพิษออก
  3. ใช้สำลีชุมแอมโมเนียทาบริเวณแผล
  4. ใช้น้ำแข็งประคบบริเวณแผล เพื่อระงับอาการปวดและช่วยลดการซึมซาบของพิษ
  5. สังเกตดูอาการ ถ้าไม่ดีขึ้นรีบพาไปพบแพทย์

6. การปฐมพยาบาลเมื่อถูกไฟไหม้  หรือน้ำร้อนลวก  (Burning)

อุปกรณ์ เช่นเดียวกับการทำแผล

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

  1. ใช้สารละลายล้างแผล
  2. ทายาแก้ไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวกให้ทั่วบาดแผล
  3. ปิดบาดแผลด้วยผ้ากอซเพื่อป้องกันฝุ่นละออง
  4. ติดพลาสเตอร์ทับให้เรียบร้อย
  5. ในกรณีที่แผลรุนแรงต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน

*ไม่ควรใช้ยาสีฟันทาแผล เพราะแผลอาจอักเสบมากขึ้นและอาจหายช้า

Credit : คลินิกนักท่องเที่ยว โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน

 

เพิ่มความคิดเห็น

ที่อยู่อีเมลของคุณจะไม่ถูกเผยแพร่