ก่อนอื่นเราต้องมาเข้าใจความหมายของคำว่าค่าล่วงเวลาให้เข้าใจตรงกันก่อนว่า
ค่าล่วงเวลา คือ เงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้ลูกจ้างที่ทำงานเกินเวลา 8 ชั่วโมงปกติ ไม่ว่าจะเป็นการทำก่อน หรือหลัง 8 ชั่วโมงก็ได้ ส่วนที่เกินถือว่าเป็นการทำงานล่วงเวลาทั้งสิ้น
ค่าล่วงเวลามี 2 ลักษณะคือ
1. ค่าล่วงเวลาในวันทำงานปกติ กฎหมายให้จ่ายในอัตรา 1.5 เท่าของค่าจ้าง คิดเป็นรายชั่วโมงที่ทำ(ตามมาตรา 61)
วิธีคิด เช่นค่าจ้างวันละ 300 บาท หารด้วย 8 ชั่วโมง x 1.5 เท่า = 56.25 บาท ทำ 3 ชั่วโมง ก็จะต้องจ่าย = 168.75 บาท
2. ค่าล่วงเวลาในวันหยุด กฎหมายให้จ่ายในอัตรา 3 เท่าของค่าจ้าง ของค่าจ้างในวันทำงานปกติ คิดให้เป็นรายชั่วโมงเช่นกัน (ตามมาตรา 63)
วิธีคิด เช่นค่าจ้างวันละ 300 บาท หารด้วย 8 ชั่วโมง x 3 เท่า = 112.50 บาท ทำ 3 ชั่วโมง ก็จะต้องจ่าย = 337.50 บาท เป็นต้น
การจ่ายล่วงเวลานั้นจะต้องมีเงื่อนไข 3 ข้อดังนี้
1. เป็นงานที่นายจ้างสั่งให้ทำ จะอยู่ทำเอง เบิกเองไม่ได้
2.เป็นงานที่ลูกจ้างยินยอมลงชื่อทำเป็นคราว ๆ ไป เป็นวัน ๆ ไม่ใช่งานบังคับให้ทำทุกวัน (ตามมาตรา 24)
3.ในกรณีที่เป็นงานฉุกเฉิน ถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน นายจ้างสั่งให้ทำงานล่วงเวลาได้เท่าที่จำเป็น (มาตรา 24 วรรคสอง)
สรุปว่า..ถ้าอยู่ในเงื่อนไข 3 ข้อนี้ ลูกจ้างต้องทำ.. นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลา
ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ ที่แบ่งปัน จาก
หนังสือ ตัวอย่างการปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานฉบับเข้าใจง่าย
ผู้เขียน อ.สิทธิศักดิ์ ศรีธรรมวัฒนา ผู้ศึกษาคำพิพากษาศาลฎีกามากกว่า 1,000 คดี