บางคนก็ว่าไม่ได้ เพราะไม่กำหนดไว้ ย่อมไม่มีสิทธิใช้
บางคนก็ว่าได้ เพราะข้อเท็จจริงผิดร้ายแรง ก็คือ ร้ายแรง
บางคนก็ว่าได้ ถ้าไม่กำหนดไว้ ก็ใช้กฎหมายใกล้เคียงมาปรับใช้ได้
มาดูกันว่าคดีแบบนี้ศาลท่านว่าอย่างไร ?
แนวคำพิพากษาศาลฎีกาเลขที่ 5925-5932 /2550
ศาลท่านว่า... นายจ้างกำหนดความผิดร้ายแรงไว้ 7 กรณี ไม่ได้ระเรื่องละทิ้งหน้าที่หรือกลับก่อนเวลาไว้ใน 7 ข้อ แสดงว่าการละทิ้งหน้าที่หรือกลับก่อนเวลาดังกล่าวไม่เป็นความผิดร้ายแรง
คำแนะนำท้ายฎีกา
เป็นไงละครับฎีกานี้..ฟังแล้วสลบ 3 วัน 3 คืนมั้ยครับ ???
ในข้อบังคับการทำงานนั้นไม่สามารถระบุความผิดได้ทุกพฤติกรรมได้ เพราะพฤติกรรมของมนุษย์นั้น “ ลิงยังอาย ”..จิ้งจกที่ว่าปรับสีได้ยังชิดซ้าย ถ้าจะให้เขียนไว้ทั้งหมด 100 หน้าก็ไม่พอ
ในทางปฏิบัติ เรา ๆ ท่าน ๆ ก็นำกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายคุ้มครองแรงงาน..กฎหมายอาญา..กฎหมายแพ่ง.. พรบ.จัดตั้งศาลแรงงาน ฯ มาปรับใช้ตามสถานการณ์ก็พอ “ เอาอยู่ ”
แต่มาเจอฎีกานี้ ท่านว่า “ ถ้าไม่เขียนไว้ว่าร้ายแรงตั้งแต่ต้น ก็ถือว่านายจ้างไม่ติดใจว่าร้ายแรง จะถือว่าร้ายแรงภายหลังไม่ได้ ”
โยนความผิดให้นายจ้างฝ่ายเดียวเลยเชียว...
หรือว่านายจ้างผิดจริง ?????
ตัวอย่างการป้องกัน แก้ไข
มองอีกมุมหนึ่ง...นายจ้างอาจจะเลิกจ้างผิดประเด็นก็ได้ การไปอ้างว่าการละทิ้งหน้าที่หรือกลับก่อนเป็นความผิดร้ายแรงโดยตรงนั้นก็อาจะไม่ร้ายแรงอย่างท่านว่าก็ได้..
แต่ถ้านายจ้างอ้างว่าการละทิ้งหน้าที่หรือกลับก่อนเวลานั้น ลูกจ้างรู้ทั้งรู้ว่านายจ้างจะเสียผลผลิต ส่งสินค้าไม่ทัน อันจะเกิดความเสียหายโดยตรงต่อนายจ้าง ลูกจ้างยังละทิ้งไปอีก ถือว่าลูกจ้าง “ จงใจทำให้นายจ้างเสียหาย ” ตามมาตรา 119 ( 2 ) จึงเป็นความผิดร้ายแรง
ถ้าเลิกจ้างในข้อหานี้ไม่ว่าจะกี่นาที จะกี่บาท ก็ถือว่าเป็นความผิดร้ายแรงทั้งสิ้น แม้ไม่ได้กำหนดไว้ในข้อบังคับก็อ้างกฎหมายคุ้มครองแรงงานมาตรา 119 มาอ้างแทนได้
ก็อย่างที่บอกไว้ว่า..ถ้าเลิกจ้างตรงประเด็น มีพยาน หลักฐานชัดเจน ก็มีโอกาสชนะคดี แต่ถ้าไม่ตรงประเด็น ไม่เป็นมวยเข้าด้วยแล้วก็แพ้ทาง เสียเงิน เสียหน้าอยู่ร่ำไป..
ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก อ.สิทธิศักดิ์ ศรีธรรมวัฒนา
วิทยากร ทีปรึกษา ผู้ศึกษาคำพิพากษาศาลฎีกามากกว่า 1,000 คดี