บางคนก็ว่าได้ ถ้ามีสิทธิได้ตามที่บริษัทประกาศงด
บางคนก็ว่าไม่ได้ เพราะโบนัสเป็นสิทธิของนายจ้างจะให้ใคร ไม่ให้ใครก็ได้
บางคนก็ว่าได้ แต่ไม่รู้ว่าต้องฟ้องขอภายในกี่ปี
มาดูกันว่าคดีแบบนี้ศาลท่านว่าอย่างไร ?
แนวคำพิพากษาศาลฎีกาเลขที่ 7320/2550
ศาลท่านว่า....โบนัส ไม่ใช่ค่าจ้าง หรือ สินจ้างอย่างอื่นและไม่ได้กำหนดอายุความไว้เฉพาะจึงให้มีอายุความฟ้องได้ใน 10 ปี ตาม ปพพ. มาตรา193 / 30
คำแนะนำท้ายฎีกา
เรื่องโบนัสนี้ ส่วนมากก็เข้าใจว่าเป็นสิทธิของนายจ้างที่จะให้ใคร..ไม่ให้ใคร..หรือจะกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายว่าให้เท่าใดก็ได้ อีกทั้งมีลักษณะเป็นปี ๆ ตามผลประกอบการ จะฟ้องขอไม่ได้...นับว่าเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง..แต่ลืมประเด็นสำคัญไปว่า ถ้าลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามที่นายจ้างประกาศ แต่นายจ้างให้ ลูกจ้างจะฟ้องเรียกเอาได้ภายในกี่ปี ???
ฎีกานี้ได้บอกชัดเจนแล้วว่า ให้ฟ้องเรียกโบนัสได้ภายในอายุความ 10 ปี..ใครที่รู้ว่าตนเองไม่ได้ก็รีบไปฟ้องพร้อมขอดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีพร้อมเลย..ถ้าลืมขอจะไปฟ้องใหม่ไม่ได้ จะเป็นฟ้องซ้ำตัวอย่างการป้องกัน แก้ไข
ทุกวันนี้ความหวังประจำวันของคนทำงานก็คือ ค่าล่วงเวลา..ส่วนความหวังประจำปี ก็คือ โบนัส ถ้าบริษัทไหนไม่มี หรือ มีน้อย ลูกจ้างก็จะลาออกไปหาที่ใหม่ที่มีมากกว่า
เรื่องโบนัสจะเกี่ยวพันกับค่าจ้างแต่ละคนจึงมีแนวความคิดในการจัดการออกมา 3 ลักษณะ คือ
1. บริษัทฝรั่ง จะให้ค่าจ้างมาก แต่โบนัสน้อย...คนเห็นแก่เงินค่าจ้างสูง จึงพอหาคนได้
2. บริษัทญี่ปุ่น จะให้ค่าจ้างพอสมควร แต่ให้โบนัสเยอะโดยเฉพาะกลุ่มยานยนต์...คนเห็นแก่โบนัสเยอะก็ไหลเข้าไป หาคนได้ง่าย
3. บริษัทไทย หรือ บริษัทครอบครัวก็ให้ค่าจ้างน้อย โบนัส 1 – 2 เดือน..คนจะไหลออกไปไม่หยุด หาคนใหม่ยาก
ในทัศนะของอ.ขอแนะนำว่า ถ้าตั้งใจจะปรับค่าจ้างและให้โบนัสพนักงานรวมกันแล้ว 10 % ขอให้แบ่งปรับค่าจ้าง 5 % ก็พออีก 5 % เก็บสะสมไว้เป็นโบนัสปลายปีจะดีกว่า
การปรับค่าจ้างสูง เงินก็จะหมดไปทุกวัน สุดท้ายปลายปีจะไม่เหลืออะไร ( จะบอกให้เก็บเองเป็นไปไม่ได้ ) ..แต่ถ้าปรับให้น้อย แต่เก็บไว้ให้ปลายปีมาก ลูกจ้างก็จะมีเงินเหลือ เงินเก็บปลายปี แบบนี้จะดีกว่าคนได้เงินปลายปีเยอะ ก็จะอยู่นานเพื่อรอปีต่อไป
Credit บทความ จาก อ.สิทธิศักดิ์ ศรีธรรมวัฒนา